Header

โรคข้อสะโพกเสื่อม

19 มิถุนายน 2567

นพ.ปิยวัฒน์ จิรัปปภา นพ.ปิยวัฒน์ จิรัปปภา

อาการปวดสะโพกที่เกิดบ่อยครั้ง อาจจะถือว่าเป็นสัญญาณเตือนนำไปสู่โรคข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั้งในคนอายุมากและอายุยังน้อย นอกจากจะสร้างความเจ็บปวดบริเวณสะโพกแล้ว  ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย  ส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นเพียงอาการปวดสะโพกธรรมดา จึงเพิกเฉยต่ออาการและหายามารับประทานเอง จนอาการอาจจะลุกลามเป็นข้อสะโพกเสื่อมในที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีวิธีการรักษาทั้งแบบไม่ผ่าตัดและแบบผ่าตัด หากเข้ารับการรักษาแล้วไม่ต้องพักฟื้นนาน และสามารถกลับไปเคลื่อนไหวใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ

 โรคข้อสะโพกเสื่อม

พบได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว แต่ส่วนใหญ่จะพบบ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากความผิดปกติข้อสะโพกแต่กำเนิด ข้อสะโพกเสื่อมตามวัย การรับประทานยาบางชนิดโดยเฉพาะยาแก้ปวด โรคติดเชื้อบางอย่าง น้ำหนักตัวมาก อุบัติเหตุ รวมถึงความผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นต้น และจะแสดงอาการ ปวดรอบๆข้อสะโพก ปวดช่วงขาหนีบ รู้สึกข้อสะโพกขัดในตอนเช้าหลังจากตื่นนอน มีเสียงภายในข้อสะโพก ข้อสะโพกติดขัด ซึ่งไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา อย่างไรก็ตามควรถนอมข้อสะโพกโดยใช้งานอย่างถนอมและถูกวิธี หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อสะโพกโดยไม่ยกของหนัก ตลอดจนไม่ทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่ใช้งานข้อสะโพกอย่างรุนแรง

 

การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อม

1. การรักษาโดยไม่ผ่าตัด ด้วยวิธีพักการใช้งานข้อสะโพก ทำกายภาพตามโปรแกรมแบบเบาๆ ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของข้อสะโพก ทานยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่มีสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการปวด ในรายที่มีน้ำหนักตัวมากควรลดน้ำหนัก และ

2. การรักษาโดยการผ่าตัด หากข้อสะโพกเสื่อมมีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มเจ็บข้อสะโพกแม้พักอยู่เฉยๆในตอนกลางคืน หรือข้อสะโพกผิดรูปอย่างมาก แพทย์จะแนะนำให้รักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมบริเวณที่เป็นหัวและเบ้าแทนข้อสะโพกเดิม ซึ่งจะรักษาความเจ็บปวดและช่วยพัฒนาการเดิน ทั้งนี้ภายหลังการผ่าตัดผู้ป่วยควรทำกายภาพบำบัด เนื่องจากเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูการทำงานของข้อสะโพกและกล้ามเนื้อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

  กรมการแพทย์ 

นพ. วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร. นที คัดนานตดิลก (นิตยสารหมอชาวบ้าน) 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกกระดูกและข้อ

พญ.ประภาศิริ เจริญศรี

มือและจุลยศัลยศาสตร์

แผนกจักษุ

นพ.ศุภราช เลาหพิทักษ์วร

เฉพาะทางโรคกระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตา

แผนกกุมารเวช

พญ.ขวัญนุช ศรีกาลา

กุมารเวชศาสตร์โรคเลือดและมะเร็งเด็ก

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์